logo1.gif.GIF (6998 bytes)           en5.gif (7223 bytes)

          เลือดกำเดาไหล           คือการที่มีเลือดออกจากจมูก

  สาเหตุ

1.การบาดเจ็บการบาดเจ็บอาจมีเพียงเล็กน้อยเช่นแคะจมูกอาจทำให้มีการฉีกขาดของเส้นเลือดฝอยได้(เส้นเลือดฝอย

บริเวณในจมูกมีเยอะมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผนังกั้นช่องจมูก)        การบาดเจ็บที่รุนแรงเช่นการหักของกระดูกจมูก

ผนังกั้นช่องจมูกหรือโพรงอากาศข้างเคียง(Sinus)   หรือเกิดภายหลังการผ่าตัดภายในจมูก    ตัดต่อมแอดินอยด์

2.การติดเชื้อ อาจเกิดตามหลังการอักเสบแบบเฉียบพลันของเยื่อบุจมูกเช่นเป็นหวัดเยื่อบุจมูกบวมทำให้ต้อง

สั่งน้ำมูกบ่อยเส้นเลือดฝอยแตก    อาการอักเสบแบบเรื้อรังของเยื่อบุจมูกก็ทำให้เลือดออกได้

3.สิ่งแปลกปลอมภายในจมูก มักพบในเด็กเล็กจะมีอาการน้ำมูกออกข้างเดียวมีกลิ่นเหม็นเลือดออก

4.เนื้องอกเป็นเนื้องอกแบบไม่ร้ายแรงได้แก่เนื้องอกของเส้นเลือด(Hemangioma,Angiofibroma)อาจทำให้เลือดออก

ครั้งละมากๆได้   เนื้องอกชนิดมะเร็งของโพรงจมูกหรือของไซนัสมักจะทำให้มีเลือดออกครั้งละเล็กละน้อย

ปนน้ำมูกออกมา

5.โรคที่เป็นทุกระบบได้แก่ความดันโลหิตสูง   ผนังหลอดเลือดแข็ง   โรคเลือดเช่นมะเร็งเม็ดโลหิตขาว   Aplastic

anemia    ภาวะขาดเหล็ก   ความผิดปกติทางการแข็งตัวของเลือดเช่นHemophillia , Hereditary hemorrhagic

telangiectasia(Osler-Weber-Rendu)  โรคตับแข็ง   ภาวะยูริเมีย

การรักษา

1.การห้ามเลือดถือว่าเป็นขั้นตอนการรักษาที่สำคัญที่สุดตอนหนึ่งเพราะสามารถช่วยชีวตผู้ป่วยได้ทำให้ไม่เสียเลือด

จนเกิดภาวะช๊อกหากผู้ป่วยมีเลือดกำเดาไหลให้ผู้ป่วยนั่งก้มหน้าหายใจทางปากเพื่อป้องกันเลือดไหลลงคอจนอาจสำลัก

บีบจมูกบริเวณปีกจมูกแน่นพอสมควรเป็นเวลาอย่างน้อย5นาที    หากมีผู้ช่วยอื่นให้เอาน้ำแข็งห่อในผ้าประคบ

บริเวณหน้าผากและหว่างคิ้ว     การบีบจะต้องบีบตลอดเวลาจนครบ 5 นาทีไม่บีบๆปล่อยๆ      พอปล่อยแล้วส่วนใหญ่

่เลือดจะหยุดได้เอง แต่ถ้าเลือดไม่หยุดต้องบีบต่อและนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการห้ามเลือดด้วยวิธีอื่น

โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ป่วยอาจต้องนอนดูอาการในโรงพยาบาล

2.รักษาตามสาเหตุของเลือดกำเดาเช่นรักษาโรคความดันโลหิตสูง   ให้เกล็ดเลือดในภาวะเกล็ดเลือดต่ำ(Aplastic

anemia,ไข้เลือดออก)   กำจัดสิ่งแปลกปลอมในจมูกสำหรับผู้ป่วยที่เอาสิ่งแปลกปลอมใส่จมูก

3.รักษาอาการติดเชื้อในกรณีที่เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุจมูก

4.การผ่าตัดรักษาในกรณีที่เป็นเนื้องอก ทั้งนี้รวมถึงการจี้ด้วยไฟฟ้าหรือเลเซอร์

6.วิตตามินซี   วิตตามินซีเป็นสารที่มีประโยชน์มากเชื่อว่าช่วยป้องกันภาวะเลือดออกง่ายจากเส้นเลือดฝอยแตกได้

ทั้งยังมีประโยชน์ในแง่การเป็นสารแอนตี้อ๊อกซิแดนท์ช่วยชลอความแก่และป้องกันมะเร็งดังนั้นจึงควรกินอาหารที่มี

วิตตามินซีสูงทุกๆวัน

                                                           Arrowupbg.gif (2684 bytes)top


            ไข้หวัด

      ไข้หวัดเป็นโรคที่คนส่วนมากจะเคยเป็นแล้ว   จึงรู้จักกันดี

      อาการ ไข้   คัดจมูก น้ำมูกใส จาม เจ็บคอ ไอแห้งๆหรือมีเสมหะเล็กน้อยเสมหะใสถึงขาวขุ่น

      สาเหตุ   ไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง

     การรักษา    เนื่องจากไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสดังนั้นจึงไม่มียารักษาแต่อาศัยภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านโรค

     ทำให้เป็นเองหายเองได้   ในขณะที่มีอาการต่างๆผู้ป่วยอาจกินยาลดไข้แก้ปวด   ยาลดน้ำมูกลดอาการคัดจมูก 

     ยาแก้ไอได้ซึ่งถือว่าเป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ   ควรดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนมากๆเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง

     จะได้หายป่วยไวๆ

     ยาลดไข้ที่แนะนำให้กินได้คือพาราเซตตามอล(Paracetamol)แต่ต้องระวังในผู้ป่วยที่มีโรคตับ

     ยาลดน้ำมูก   ให้กินคลอเฟนนิลามิน(Chlorphenilamine)

       ยาแก้ไอต้องแยกว่าเป็นไอแบบมีเสมหะควรกินยาแก้ไอขับเสมหะ หรือละลายเสมหะ   ถ้าไอแห้งๆให้กินยาแก้ไอ

     เพื่อให้หยุดไอ

     หากว่ามีอาการแทรกซ้อนเช่นไข้สูง   เจ็บคอมาก คอเป็นหนอง   น้ำมูกเขียว เสมหะเขียวแสดงว่ามีการติดเชื้อ

     แบคทีเรียซ้ำซ้อนขึ้นมาควรต้องกินยาปฏิชีวนะ   ดังนั้นหากมีอาการของไข้หวัดนานเกิน 3 วันควรปรึกษาแพทย์

                                                          Arrowupbg.gif (5751 bytes)top


        ไซนัสอักเสบ(SINUSITIS)

        หากไปหาหมอแล้วหมอบอกว่าคุณเป็นไซนัสหรือเรียกให้เต็มๆว่าไซนัสอักเสบคุณคงรู้สึกตกใจเพราะเข้าใจว่า

้โรคไซนัสอักเสบเป็นโรคร้ายแรง หมอจึงอยากอธิบายลักษณะของโรคให้เข้าใจเพื่อจะได้สบายใจขึ้นเพราะ

โรคไซนัสอักเสบเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ถ้ารักษาถูกวิธี

แบ่งเป็น2แบบ(ตามระยะเวลา)

1.ไซนัสอักเสบฉับพลัน   (Acute  sinusitis)

2.ไซนัสอักเสบเรื้อรัง (Chronic  sinusitis)

ไซนัสอักเสบฉับพลัน 

อาการ  มีไข้  คัดจมูก   ปวดหัว  ปวดจมูก  ปวดแก้ม      อาจมีปวดกระดูกขากรรไกรบน   หรือ  ปวดฟันบน   

             น้ำมูกข้น(เป็นหนองสีเหลืองหรือเขียว)

ตรวจพบ ไข้สูง   เยื่อบุจมูกบวมแดง   มีหนองออกจากบริเวณรูเปิดของไซนัสในจมูก   กดเจ็บบริเวณแก้มใต้ตาหรือ

             ดั้งจมูกหรือหน้าผากระหว่างคิ้ว

สาเหตุ     มีการติดเชื้อแบคทีเรียในจมูกแล้วแพร่เข้าไปในไซนัส

การรักษา ยาปฏิชีวนะ(Antibiotic) ร่วมกับยาลดน้ำมูกหรือยาลดอาการคัดจมูก และยาแก้ปวดลดไข้

                ข้อสำคัญต้องได้รับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม และต้องกินอย่างน้อย 7-14 วันหรือตามแพทย์สั่ง

                หากการใช้ยาอย่างเดียวไม่ได้ผลอาจต้องทำการล้างไซนัส(Antral irrigation)

ไซนัสอักเสบเรื้อรัง        

อาการ   คัดจมูก   น้ำมูกข้นเหลืองหรือเขียวเป็นเรื้อรังอย่างน้อย 3 เดือน

ตรวจพบ เยื่อบุจมูกบวม   น้ำมูกข้นหนองออกจากไซนัส อาจพบว่ามีริดสีดวงจมูก(Nasal  polyps)ร่วมด้วย

สาเหตุ   เป็นไซนัสอักเสบฉับพลันแล้วไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องหรือเพียงพอ

การรักษา 1.การให้ยาปฏิชีวนะ   ยาลดน้ำมูกหรือยาลดการคัดจมูก(Decongestant)   ยาแก้แพ้(Antihistamine)

                ในกรณีที่มีอาการภูมิแพ้ร่วมด้วย

                 2.การผ่าตัด   ทำในกรณีที่การกินยาไม่ได้ผลหรือในกรณีที่มีริดสีดวงจมูก

             -การเจาะล้างไซนัส (Antral irrigation)

                 -การผ่าตัดไซนัสCWL

                -การตัดริดสีดวงจมูก(Polypectomy)

               -การผ่าตัดไซนัสแบบFunctional   Endoscopic Sinus Surgery

      โรคแทรกซ้อนของไซนัสอักเสบ

             1.ริดสีดวงจมูก  คือ ก้อนในจมูกที่เกิดจากภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรังหรือเกิดจากภูมิแพ้ไม่ถือว่าเป็น

        เนื้องอกแท้จริง โตช้าๆ   ไม่รุกลามไปที่อื่นไม่กัดกินกระดูกแต่เบียดกระดูกในจมูกอาจยุบได้บ้างเล็กน้อย

       หากผู้ป่วยกินยาแก้แพ้ ยาลดการคัดจมูกและยาปฏิชีวนะ หรือใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก

       การรักษาคือการผ่าตัดด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ(เหมือนการรักษาไซนัสอักเสบเรื้อรัง)

                2.ฝีรอบตา(Periorbital abcess)มักพบในเด็ก   หรือคนชรา   จะพบว่ามีอาการตาบวมข้างเดียว

แดงรอบๆและในลูกตาหนังตาบวมกดเจ็บ     ลูกตาโปน   วินิจฉัยจากการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์  

รักษาโดยการฉีดยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมและการผ่าตัด

                3.โรคแทรกซ้อนขึ้นสมอง ได้แก่   เยื่อหุ้มสมองอักเสบ   ฝีใต้เยื่อหุ้มสมอง ฝีในสมองมักพบในผู้ป่วยเด็ก

คนชรา หรือผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

Back.gif (3658 bytes)                   curtain-home-motion2-whit.gif (21453 bytes) Arrowupbg.gif (3004 bytes)